111

วันที่ 24 ตุลาคม 2566 เวลา 11.00 น. นายสัตวแพทย์เดชา จิตรภิรมย์ ปศุสัตว์จังหวัดชุมพร มอบหมายให้ นางสาวภัคธนัช พรมบุญแก้ว นายสัตวแพทย์ชำนาญการ รักษาราชการแทนปศุสัตว์อำเภอท่าแซะ พร้อมด้วย นายวสันต์ สิงหพันธ์ เจ้าพนักงานสัตวบาลปฎิบัติงาน ร่วมกับศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพสุราษฎร์ธานี ดำเนินการผสมเทียมแพะ ครั้งที่ 1 หลังถอดฮอร์โมน Cidr-G ประมาณ 48 ±3 ชั่วโมง มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งใช้เทคโนโลยีชีวภาพและเผยแพร่องค์ความรู้โดยเฉพาะงานด้านการผสมเทียมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปรับปรุงพันธุ์และกระจายแพะพันธุ์ดีสู่เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อ ลดปัญหาการผสมเลือดชิดได้ ลดอัตราเสี่ยงจากการแพร่ของโรคอันเนื่องจากการผสมพันธุ์ เช่น โรคแท้งติดต่อ (Blucellosis), โรคข้อและสมองอักเสบ (CAE) และการทำการผสมทียมแพะได้ด้วยตนเองนั้น เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุนผลิตได้ดีทีเดียว ดังนั้น กรมปศุสัตว์ จึงได้ถ่ายทอดภูมิรู้ การผสมเทียมแพะ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับเกษตรกร บนพื้นฐานของวิธีการ ขั้นตอน ที่ชัดเจน ถูกต้อง ของกลุ่มผู้เลี้ยงแพะประสานมิตร จำนวน 3 ฟาร์ม แพะจำนวน 24 ตัว ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทุกฟาร์มเป็นอย่างดี
 
ครอบครัวปศุสัตว์ ทำด้วยใจ ทำให้ไว ทำได้จริง

ที่มาของข้อมูล : สำนักงานปศุสัตว์อำเภอท่าแซะ