โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสม
วันที่ 1 มีนาคม 2565 กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพร ติดตามงานโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสม ตำบลท่าข้าม อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
วันที่ 1 มีนาคม 2565 กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพร ติดตามงานโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาไม่เหมาะสม ตำบลท่าข้าม อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
วันที่ 1 มีนาคม 2565 ปศุสัตว์จังหวัดชุมพร มอบหมายให้กลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ ดำเนินการตรวจต่ออายุฟาร์มไก่เนื้อมาตรฐาน ร่วมกับบริษัทซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในพื้นที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 09.00 น. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงมีพระเมตตาต่อเกษตรกรชาวจังหวัดชุมพร ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคสุกร และทรงพระกรุณาพระราชทานสิ่งของให้แก่เกษตรกร โดยทรงโปรดให้ นายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นผู้เชิญสิ่งของพระราชทานประกอบด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีพประจำวัน ณ หอประชุม โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านท่าตะเภา) ตำบลท่าตะเภา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร โดยมีเกษตรกรผู้เข้าร่วมพิธีรับมอบสิ่งของพระราชทาน จำนวน 100 ราย
ข้อเท็จจริง เกษตรกรผู้ร้องเรียนเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน แจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร คิดว่าการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเรียบร้อยแล้วจะได้รับเงินเยียวยา และเข้าใจว่าองค์การบริหารส่วนตำบลหินแก้วจะดำเนินการส่งเอกสารภาพถ่ายในการฝังกลบสุกรยื่นเรื่องขอชดใช้จากกรมปศุสัตว์ให้ในคราวเดียวกัน ซึ่งเกษตรกรดังกล่าวไม่ได้แจ้งการเกิดโรคระบาดในสุกรกับทางปศุสัตว์อำเภอเพื่อจะขอรับการเยียวยาจากกรมปศุสัตว์ ทั้งนี้สำนักงานปศุสัตว์อำเภอท่าแซะได้มีการประชาสัมพันธ์การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร และการลงทะเบียนเกษตรกรที่ขอรับเงินเยียวยาโรคระบาดสัตว์ผ่านการประชุมกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/ผู้นำชุมชนอย่างสม่ำเสมอ และผู้ใหญ่บ้านได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ลูกบ้านทราบในการประชุมหมู่บ้าน เพื่อไม่ให้เกิดการตกหล่นในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในหมู่บ้าน สำหรับกรณีการมอบของช่วยเหลือเบื้องต้นนั้น ได้รับการสนับสนุนมาจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดสัตว์
การดำเนินการ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพร พร้อมด้วยสำนักงานปศุสัตว์อำเภอท่าแซะ รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหินแก้ว ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลหินแก้ว อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ตรวจสอบตามข้อเท็จจริง และได้ชี้แจงขั้นตอนและหลักเกณฑ์ในการขอรับเงินช่วยเหลือเยียวยาจากการทำลายสัตว์กรณีเป็นโรคระบาดสัตว์จากกรมปศุสัตว์ ซึ่งเกษตรกรผู้ร้องได้เข้าใจขั้นตอนวิธีปฏิบัติแล้ว
เพจข่าวออนไลน์ CH3ThailandNews : รองผู้ว่าฯ ชุมพร ฉุน! ปศุสัตว์ทำเอกสารชาวบ้านเลี้ยงหมูตกหล่น อดรับเงินเยียวยา
จากที่กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ตำบลท่าข้าม จำนวน 16 ราย เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรกลุ่มแรกที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพรพบการระบาดของโรคระบาดในสุกร และดำเนินการทำลายสุกรพร้อมทำเอกสารเพื่อขอรับการช่วยเหลือจากกรมปศุสัตว์ ต่อมาในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพร ได้ชี้แจงว่าไม่มีรายชื่อกลุ่มเกษตรกรดังกล่าวทำให้กลุ่มเกษตรกรเดือดร้อน
ข้อเท็จจริง
1. วันที่ 31 สิงหาคม 2564 สำรวจเกษตรกรคงค้างค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลายจังหวัดชุมพร ซึ่งมีรายชื่อกลุ่มเกษตรกร 16 ราย ส่งเมล์ให้กลุ่มควบคุมป้องกันโรคสัตว์ (สคบ.) กรมปศุสัตว์
2. วันที่ 17 กันยายน 2564 ส่งเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายเงินค่าชดใช้การทำลายสุกรให้สำนักงานปศุสัตว์เขต8
3. วันที่ 20 ตุลาคม 2564 สำนักงานปศุสัตว์เขต 8 ส่งเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายเงินค่าชดใช้การทำลายสุกรให้ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์
4. กรมปศุสัตว์ได้โอนเงินงบประมาณ งบกลาง ครั้งที่ 3 วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 และครั้งที่ 5 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อจ่ายให้เกษตรกรจังหวัดชุมพร ซึ่งมีเกษตรกรได้รับเงิน จำนวน 145 ราย และได้ตรวจสอบแล้วไม่ปรากฏรายชื่อของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรตำบลท่าข้าม 16 รายดังกล่าว
การดำเนินการ
1. เร่งรัดและติดตามการเบิกจ่ายค่าชดใช้ราคาสุกรของกลุ่มเกษตรกร จำนวน 16 ราย
2. ประชุมติดตามความก้าวหน้าการเบิกจ่ายค่าชดใช้ราคาสุกรของกลุ่มเกษตรกร จำนวน 16 ราย โดยมีผู้แทนเกษตรกรเข้าร่วมด้วย ทุกวันพฤหัสบดี จนกว่าเกษตรกรจะได้รับเงินค่าชดใช้ราคาสุกร